วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย


อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ตั้งอยู่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า เป็นที่บรรจุอัฐิของผู้ที่เสียชีวิตในการปราบกบฏฮ่อ
 เมื่อปี ร.ศ. ๑๐๕ (พ.ศ. ๒๔๒๙) เสด็จ ในกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมซึ่งเป็นแม่ทัพใหญ่ปราบกบฏฮ่อในครั้งนั้นรับสั่ง ให้สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนความดีของผู้ที่ได้เสียสละชีวิตเพื่อชาติบ้าน เมือง  ที่อนุสาวรีย์ทั้ง ๔ ทิศ มีคำจารึกอักษรภาษาไทย จีน ลาว และอังกฤษ จังหวัดหนองคายจัดพิธีบวงสรวงและจัดงานอนุสาวรีย์ปราบฮ่อเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันที่ ๕ - ๑๖ มีนาคม ของทุกปี



วัดโพธิ์ชัย  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
วัด โพธิ์ชัย เป็นพระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านของชาวเมืองหนองคาย หลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีลักษณะงดงาม ตามตำนานเล่าว่า พระธิดา ๓ องค์ของกษัตริย์ล้านช้างได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ และขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามของตนเอง คือ พระเสริมประจำพี่ใหญ่  พระ สุกประจำคนกลาง และพระใสประจำน้องคนสุดท้อง เดิมประดิษฐานที่เวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามลงเรือข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมายังเมืองหนองคาย แต่เกิดพายุพัดพระสุกจมน้ำหายไปกลางลำแม่น้ำโขง ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า เวินสุก อำเภอโพนพิสัย  ส่วนพระเสริมและพระใสได้ถูกอัญเชิญมา ประดิษฐานไว้ที่หนองคาย จนในสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงได้อัญเชิญพระเสริมลงไปประดิษฐานที่กรุงเทพฯ ส่วนพระใสยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย  จังหวัดหนองคายจัดงานสมโภชหลวงพ่อพระใสอย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างวันที่ ๑๒  ๑๘ เมษายนของทุกปี และวันเพ็ญกลางเดือน ๗ ชาวเมืองหนองคายจะจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟบูชาหลวงพ่อพระใสที่วัดโพธิ์ชัยเป็นประจำทุกปี


 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
สะพาน มิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๑ เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปจากอำเภอเมือง จังหวัดหนองคายไปยังบ้านท่าเดื่อ เมืองหาดทรายฟอง สปป.ลาว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเวียงจันทน์ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร สร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของ ๓ ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ลาว และไทย นับว่าเป็นสะพานที่สร้างความสัมพันธ์ไทย-ลาว ให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประเพณี นักท่องเที่ยวทั่วไปที่ต้องการเดินทางจากหนองคายไปนครหลวงเวียงจันทน์ จำเป็นต้องใช้สะพานแห่งนี้  ตัวสะพานมีความยาว ๑,๑๓๗ เมตร กว้าง ๑๒.๗ เมตร  มีช่องสำหรับเดินรถ ๒ ช่องทาง และช่องกลางสำหรับทางรถไฟ ๑ ช่องทาง เชิงสะพานของแต่ละฝั่งมีด่านตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากร


พระธาตุบังพวน  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
พระ ธาตุบังพวนเป็นเจดีย์เก่าแก่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในส่วนกระเพาะอาหาร เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายและใกล้เคียงมาช้านาน องค์พระธาตุเดิมสร้างด้วยอิฐเผา ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบท้องถิ่น เป็นสถูปแบบอินเดียรุ่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้พังทลายลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓ เนื่องจากฐานทรุด เจดีย์องค์ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร เป็นรูปปรางค์สี่เหลี่ยมต่อกันเป็นบัวปากระฆัง มีฐานทักษิณ ๕ ชั้น  กว้าง ๑๗.๒๐ เมตร ชั้นที่ ๖ เป็นรูประฆังคว่ำ ชั้นที่ ๗ เป็นรูปดาวปลี เหนือขึ้นไปเป็นที่ตั้งฉัตร สูงจากพื้นดิน ๓๔.๒๕ เมตร  ชาว หนองคายจัดงานนมัสการพระธาตุบังพวนขึ้นในวันขึ้น ๑๑ - ๑๕ ค่ำ เดือนยี่ ของทุกปี ภายในบริเวณวัดมีโบราณสถานอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ได้แก่  สัต ตมหาสถาน หรือ สถานที่สำคัญ ๗ แห่งในพุทธประวัติหลังจากที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วและ ได้เสด็จประทับเสวยวิมุติสุข แห่งละ ๗ วัน และสระปัพพฬนาค หรือสระพญานาค  ซึ่งในสมัยโบราณเมื่อมีการแต่งตั้งเจ้าเมือง ก็จะนำน้ำจากสระนี้ไปสรงเพื่อเป็นสิริมงคล
               การเดินทางไปนมัสการ  พระธาตุบังพวน ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบังพวน บ้านดอนหมู ตำบลพระธาตุบังพวน อำเภอเมือง จ.หนองคาย  อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒๓ กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองหนองคายไปตามทางหลวงหมายเลข ๒ (หนองคาย - อุดรธานี) ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๑๑ ทางไปอำเภอท่าบ่อ ถึงกิโลเมตรที่ ๑๐ วัดจะอยู่ด้านขวามือ องค์พระธาตุสูงเด่นเห็นได้ตั้งแต่ไกล

พระธาตุหนองคาย หรือ พระธาตุกลางน้ำ  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
พระธาตุหล้าหนอง หรือ พระธาตุกลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ชุมชนวัดธาตุ เป็นพระธาตุที่หักพังลงสู่กลางลำน้ำโขง  ปัจจุบัน อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (ฝ่าพระบาทด้านขวาหรือ ก้ำขวา ตามภาษาอีสาน) ตามตำนานอุรังคธาตุ จากการสำรวจใต้น้ำของหน่วยโบราณคดีภาค ๗ พบว่า องค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ ๑๗.๒  เมตร ย่อมุมที่ฐาน และมีความสูงประมาณ ๒๘.๕ เมตร หักออกเป็น ๓ ท่อน สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๒ เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายพระธาตุบังพวนมากที่สุด  หนังสือประชุมพงศาวดารภาค ๗๐ บันทึกไว้ว่า พระธาตุเมืองหนองคายได้เพ (พัง)  เมื่อวันขึ้น ๙ ค่ำ  เดือน ๙ ปีพุทธศักราช ๒๓๙๐” และตลิ่งได้ถูกน้ำเซาะจนมองเห็นพระธาตุอยู่เกือบกึ่งกลางลำน้ำโขงในปัจจุบัน  พระธาตุหล้าหนองยังคงเป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองคายและใกล้เคียง  ชาวบ้านได้จัดงานประเพณีบั้งไฟเดือน ๖ ถวายพระธาตุทุกปี  นอก จากนี้ทางจังหวัดหนองคายได้ก่อสร้างพระธาตุหล้าหนององค์จำลองสูง ๑๕ เมตรขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ชุมชนวัดธาตุ เขตเทศบาลเมืองหนองคาย โดยบรรจุชิ้นส่วนพระธาตุองค์จริงและวัตถุมงคลอยู่ภายใน

พระธาตุโพนจิกเวียงงัว หรือพระธาตุบุ  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกับพระธาตุบังพวน  พระธาตุเมืองหล้าหนอง หรือพระธาตุกลางน้ำ  เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า  โดยพระธาตุโพนจิกเวียงงัวประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวฝาง จำนวน ๓ องค์
พระธาตุโพนจิกเวียงงัว ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุบุ บ้านโคกป่าฝาง ต.ปะโค อ.เมือง  จ.หนองคาย   อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย ไปตามถนนสายหนองคาย-ท่าบ่อ (ถนนพนังชลประทาน) ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร เป็นพระธาตุที่มีลักษณะฐานทรงกลม ๕ ชั้น ก่ออิฐถือปูนรูปกรวยปลายแหลม ส่วนยอดมีพญานาคประจำ ๔ ทิศ  มีความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร กรม ศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพระธาตุโพนจิกเวียงงัวไว้เป็นแหล่งโบราณสถานแล้ว เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ และปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมองค์พระธาตุและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ บริเวณเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้องค์พระธาตุโพนจิกเวียงงัวดูสง่างามมากยิ่งขึ้น


 หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ  อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีชมภูองค์ตื้อ  บ้านน้ำโมง  เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์  ฝีมือของช่างฝ่ายเหนือและช่างล้านช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมาก นั่งขัดสมาธิปางมารวิชัย  หน้าตัก กว้าง ๓.๒๙ เมตร สูง ๔ เมตร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงเคารพนับถือมาก จากหลักฐานศิลาจารึกทำให้ทราบว่า พระเจ้าองค์ตื้อสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๑๐๕ ผู้สร้างคือ พระไชยเชษฐา  กษัตริย์นครเวียง  หล่อโดยใช้ทองคำ ทองเหลือง และเงินผสมกัน รวมน้ำหนักได้ ๑ ตื้อ (ตื้อ เป็น มาตราโบราณของอีสาน) ใช้เวลาในการสร้าง ๗ ปี ๗ เดือน  ทางจังหวัดได้จัดงานนมัสการหลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
การเดินทาง  ออกจากตัวเมืองหนองคายใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒ ทางไปอุดรธานี เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข  ๒๑๑ สายหนองคาย-ท่าบ่อ ถึง กม.ที่ ๓๑ หรือจะใช้เส้นทางออกจากอำเภอเมืองไปตามถนนพนังชลประทาน วิ่งเลียบฝั่งโขงผ่านตัวอำเภอท่าบ่อไปตามถนนสายท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่ จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตร รวมระยะทางห่างจากตัวจังหวัดหนองคาย ประมาณ ๔๓ กิโลเมตร

วัดหินหมากเป้ง  อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
 วัดหินหมากเป้ง ตั้งอยู่ที่บ้านไทยเจริญ ตำบลพระพุทธบาท  การเดินทางจากตัวเมืองหนองคาย ใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๑ (หนองคาย - ศรีเชียงใหม่)  ถึง กม. ๖๔ ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข ๒๑๘๖ วัดจะอยู่ริมถนนด้านขวามือ รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ ๗๕ กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ นานาชนิด บริเวณวัดโดยรอบสะอาด เรียบร้อย และเงียบสงบ มีพื้นที่ด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำโขงซึ่งมองเห็นทัศนียภาพสวยงาม หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  เกจิอาจารย์ชื่อดังของ ภาคอีสาน ได้ริเริ่มจัดตั้งให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของภิกษุสงฆ์ แม่ชี และผู้แสวงบุญทั้งหลาย หลังจากท่านมรณภาพ มีการก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุอัฐิของท่าน ภายในมีรูปปั้นของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  พร้อมจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและชีวประวัติของท่านอีกด้วย


ภูทอก  อำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย
ภู ทอก ในภาษาอีสานแปลว่า ภูเขาที่โดดเดี่ยว ตั้งอยู่ในเขตบ้านคำแคน ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล เป็นภูเขาหินทรายโดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกล ประกอบด้วย ภูทอกใหญ่ และภูทอกน้อย แต่ก่อนบริเวณนี้เคยเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย พระอาจารย์จวน  กุลเชฏโฐ ได้เริ่มเข้ามาจัดตั้งเป็นแหล่งบำเพ็ญเพียร เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติธรรม เนื่องจากเป็นสถานที่เงียบสงบ
ภูทอกน้อยเป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคีรีวิหาร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดภูทอก  ซึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดภูทอก โดยต้องเดินไปตามสะพานไม้เวียนวนรอบเขาสูงชันจนถึงยอด สะพานไม้สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาจากเหล่าพระ เณร และชาวบ้าน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง ๕ ปี บันไดที่ทอดขึ้นสู่ยอดภูทอกนี้เปรียบเสมือนเส้นทางธรรม ที่น้อมนำสัตบุรุษให้พ้นโลกแห่งโลกียะสู่โลกแห่งโลกุตระหรือโลกแห่งการหลุด พ้น ด้วยความเพียรพยายามและมุ่งมั่น ภูทอกยังคงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและปฏิบัติศาสนกิจของชุมชน ดังนั้นผู้ที่มาเยือนสถานที่แห่งนี้ควรอยู่ในความสงบและเคารพสถานที่  
              เมื่อพระอาจารย์จวน  กุลเชษโฐ  มรณภาพ ลง พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาได้พร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิและเครื่อง อัฐบริขารของท่านไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาและรำลึกถึงคุณงามความดีใน วัตรปฏิบัติของท่าน
บันไดขึ้นภูทอกแบ่งออกเป็น ๗ ชั้น แตกต่างกัน ดังนี้
ชั้น ที่ ๑ - ๒ เป็นบันไดสู่ชั้นที่ ๓ ซึ่งเริ่มเป็นสะพานเวียนรอบเขา สภาพเป็นป่าเขามืดครึ้ม มีโขดหิน ลานหิน สุดทางชั้นที่ ๓ มีทางแยกสองทาง ทางซ้ายมือเป็นทางลัดไปสู่ชั้นที่ ๕ ได้เลย ซึ่งเป็นทางชันมากผ่านหลืบหินที่มีลักษณะเหมือนอุโมงค์ ทางขวามือเป็นทางขึ้นสู่ชั้นที่ ๔
ชั้นที่ ๔ เป็นสะพานลอยไต่เวียนรอบเขา มองไปเบื้องล่างจะเห็นเนินเขาเตี้ยๆ สลับกัน เรียกว่า ดงชมพู” ทิศตะวันออกจรดกับภูลังกา เขตอำเภอเซกา  ซึ่งมีสภาพเป็นป่าดงดิบ บนชั้นที่ ๔ นี้ จะเป็นที่พักของแม่ชี รอบชั้นมีระยะทางประมาณ ๔๐๐ เมตร มีที่พักผ่อนระหว่างทางเป็นระยะๆ  ชั้นที่ ๕ มีศาลาและกุฏิที่อาศัยของพระ  ตามช่องทางเดินจะมีถ้ำอยู่หลายถ้ำ ตลอดเส้นทางสู่ชั้นที่ ๖ มีที่พักเป็นลานกว้างหลายแห่ง  มีหน้าผาชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ผาเทพนิมิตร  ผาหัวช้าง  ผา เทพสถิต เป็นต้น ถ้ามาทางด้านเหนือจะเห็นสะพานหินธรรมชาติทอดสู่พระวิหาร อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย มองออกไปจะเห็นแนวของภูทอกใหญ่อย่างชัดเจน ผู้คนส่วนใหญ่มักหยุดการเดินทางเพียงแค่นี้เพราะจากชั้นที่ ๖ สู่ชั้นที่ ๗  เป็นสะพานไม้เวียนรอบเขายาว ๔๐๐  เมตร เกาะติดอยู่ริมหน้าผาสูงชันดูน่าหวาดเสียวอันตราย สุดทางที่ชั้น ๗ เป็นป่าไม้ร่มครึ้ม อากาศเย็นสดชื่นตลอดทั้งปี
                การเดินทาง   ภูทอก อยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคายประมาณ ๑๘๕ กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอโพนพิสัย อำเภอรัตนวาปี  อำเภอปากคาด และอำเภอบึงกาฬ แล้วเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข  ๒๒๒ ถึงอำเภอศรีวิไล  จากอำเภอศรีวิไลมีทางแยกเลี้ยวซ้ายผ่านบ้านนาสิงห์ บ้านสันทรายงาม สู่บ้านนาคำแคน ถึงภูทอกเป็นระยะทางประมาณ ๓๐  กิโลเมตร


ศาลาแก้วกู่  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ศาลา แก้วกู่หรือที่รู้จักกันในนามวัดแขก ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหนองคาย ประมาณ ๓ กิโลเมตร ตามเส้นทางไปอำเภอโพนพิสัยอยู่ด้านขวามือ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของพุทธมามกะสมาคมจังหวัดหนองคาย  สถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง แสดงรูปปั้นทางศาสนาแห่งนี้ เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ  สุรีรัตน์  ซึ่ง ได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานกันได้ งานปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้มีทั้งพระพุทธรูปปางต่างๆ รูปเทพฮินดู  รูปปั้นเกี่ยวกับศาสนาคริสต์  รูปปั้นเล่าเรื่องรามเกียรติ์ และตำนานพื้นบ้าน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา ๐๘.๐๐  ๑๘.๓๐ น.  ค่าเข้าชมคนละ ๒๐ บาท





จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า)  อำเภอเมือง จ.หนองคาย
จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒  เป็นสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล  ฝรั่งเศส ที่หลงเหลืออยู่  ณ เมืองหนองคาย  ยังคงความสวยงามและความเก่าแก่ร่วมร้อยปี  ภายในจวนผู้ว่าฯ มีประวัติการสร้างเมืองหนองคาย  ประวัติเจ้าเมืองหนองคายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ให้ได้ศึกษาหาความรู้  จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) ตั้งอยู่ถนนมีชัย ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย  สี่แยกหายโศก  อยู่เยื้องกับโรงพยาบาลหนองคาย



วัดผาตากเสื้อ  อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
วัดผาตากเสื้อ ตั้งอยู่บนยอดเขา เป็นวัดที่มีทิวทัศน์สวยงามมาก มองจากบนหน้าผาลงมามองเห็นความเป็นอยู่ของชาวไทย-ลาว  มองเห็นแม่น้ำฝั่งประเทศลาวไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงเกิดเป็นดอนที่สวยงามมาก  ภายในวัดมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สามารถเดินเลาะตามหน้าผาเพื่อชมธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงามได้  นอก จากนั้นห่างออกเป็นจากวัดผาตากเสื้อ ประมาณ ๗ กิโลเมตร จะมีวัดศรีมงคล หรือวัดถ้ำเพียงดิน ที่เล่าขานกันมาแต่โบราณว่าเป็นรูพญานาคที่โผล่มาจากแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปภายในถ้ำได้ ผู้ที่สนใจท่องเที่ยวชมวัดถ้ำศรีมงคล (ถ้ำเพียงดิน) และวัดผาตากเสื้อ สามารถติดต่อสอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบลผาตั้ง โทร. ๐๔๒-๙๐๑๐๑๓           
การเดินทาง  จากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๑ เรียบแม่น้ำโขง ระยะทางประมาณ ๙๐ กิโลเมตร  ถึงบ้านดงต้อง ตำบล ผาตั้ง อำเภอสังคม จะมีป้ายอยู่ทางซ้ายมือบอกเส้นทางไปวัดถ้ำเพียงดินอีก ๑๔ กิโลเมตร และวัดผาตากเสื้อ ๗ กิโลเมตร โดยแยกทางขวามือ การเดินทางสามารถไปได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยรถประจำทาง  สายหนองคาย - เลย  ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ  ๒ ชั่วโมง

วัดอรัญญบรรพต   อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
พระ สุธรรมเจดีย์อยู่ภายในวัดอรัญญบรรพต ตั้งอยู่ริมถนนสายศรีเชียงใหม่-สังคม ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เป็นทั้งพิพิธภัณฑ์และเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก่อสร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อถวายหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ เกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีศิษยานุศิษย์มากมาย มีชื่อเสียงด้านวิปัสสนากรรมฐาน ปัจจุบันท่านได้มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๘ ศพของท่านตั้งบำเพ็ญกุศลภายในพระสุธรรมเจดีย์แห่งนี้

ตลาดท่าเสด็จ  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ตลาดท่าเสด็จ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย เป็นแหล่งรวมสินค้าในแถบอินโดจีนและยุโรปตะวันออก  มีทั้งผลิตภัณฑ์อาหารแห้ง อาหารแปรรูป และข้าวของเครื่องใช้  เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า นาฬิกา เครื่องครัว สินค้าทำด้วยมือ เปิดจำหน่ายทุกวันเวลา ๐๗.๐๐  ๑๘.๓๐ น.  ในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ให้ความสนใจเดินทางมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้ามากมาย  นอก จากนี้ท่าเสด็จยังเป็นด่านพรมแดนสำหรับคนท้องถิ่นข้ามไปมาระหว่างไทย-ลาว และเมื่อปี ๒๕๔๙ จังหวัดหนองคายได้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำโขงให้ชาวหนองคายและนัก ท่องเที่ยวได้ชมบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำโขงด้วย

น้ำตกธารทิพย์  อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
น้ำตกธารทิพย์ อยู่บ้านตาดเสริม ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม ห่างจากตัวอำเภอไปประมาณ  ๙ กิโลเมตร โดยเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๑  ถึงบริเวณ กม. ที่ ๙๗- ๙๘ มีป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตร  เมื่อถึงลานจอดรถต้องเดินเท้าต่ออีก ๑๐๐ เมตร จึงถึงตัวน้ำตก  น้ำตกธารทิพย์เป็นน้ำตกที่สูงและสวยงามท่ามกลางป่าเขียวขจี  แบ่ง ออกเป็น ๓ ชั้น ด้านล่างเป็นน้ำตกชั้นแรกสูงประมาณ ๓๐ เมตร ไหลจากหน้าผาเป็นสายยาวสีขาวสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ชั้นที่ ๒ สูงประมาณ  ๑๐๐ เมตร  ต้องปีนขึ้นไปตามเส้นทางที่ทำไว้ และชั้นที่ ๓  สูงประมาณ ๗๐ เมตร มีน้ำไหลเกือบตลอดปี และจะมีน้ำมากในฤดูฝน ซึ่งแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปพักผ่อนเป็นจำนวนมาก
น้ำตกธารทอง  อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
น้ำตกธารทอง ตั้งอยู่ในเขตบ้านผาตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลผาตั้ง การเดินทางใช้เส้นทางหนองคาย-ศรีเชียงใหม่-สังคม (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๑)ผ่าน บ้านไทยเจริญ บ้านพระพุทธบาท แล้วต่อไปบ้านผาตั้ง บริเวณหลัก กม.ที่ ๗๔ ก่อนถึงตัวอำเภอประมาณ ๑๑ กิโลเมตร น้ำตกธารทองจะอยู่ริมทางด้านขวามือ ส่วนด้านซ้ายมือของถนนเป็นบริเวณลานจอดรถ น้ำตกธารทองมีลักษณะเป็นธารน้ำไหลไปตามลานหิน มีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ ก่อนจะลดระดับเกิดเป็นชั้นน้ำตกเล็ก ๆ เป็นระยะลดหลั่นกันไปประมาณ 30 เมตร และไหลลงสู่ลำน้ำโขงในที่สุด ช่วงเวลาที่มีน้ำมากเหมาะแก่การมาเที่ยวชมคือระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม บริเวณโดยรอบเป็นสวนรุกขชาติมีป่าไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น

หาดจอมมณี  อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
หาด จอมมณี อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร ตามถนนพนังชลประทาน เลียบแม่น้ำโขง เป็นหาดทรายริมแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง (ฤดูร้อน) ชายหาดมีความยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวพักผ่อนคือเดือนเมษายน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดหนองคายและบริเวณใกล้เคียง เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เล่นน้ำเป็นจำนวนมาก จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น พัทยาอีสาน  ทิวทัศน์บริเวณหาดจอมมณีสวยงามมากเนื่องจากมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาวเป็นจุดเด่น ตั้งตระหง่านเหนือหาดจอมมณี



 น้ำตกวังน้ำมอก  อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
น้ำตกวังน้ำมอก อยู่ในเขตบ้านวังน้ำมอก  ตำบลพระพุทธบาท  เป็น น้ำตกสูงประมาณ ๓๐ เมตร อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ห่างจากอำเภอศรีเชียงใหม่ออกไปทางอำเภอสังคม ประมาณ ๒๘ กิโลเมตร ก่อนถึงวัดหินหมากเป้ง ประมาณ ๑๐๐ เมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่หมู่บ้านวังน้ำมอก ระยะทางจากทางแยกเข้าสู่น้ำตก ประมาณ  ๗  กิโลเมตร  เดินทางโดยรถยนต์จนถึงตัวน้ำตกได้เลย บริเวณน้ำตกมีแนวสันภูเป็นผาหินมีลักษณะแปลกตา  ธารน้ำไหลระยะทางลดหลั่นกันลงไป ตอนล่างเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และลานหิน  สามารถลงเล่นน้ำและอาบน้ำได้ ช่วงเวลาที่มีน้ำได้แก่ ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม  เป็นช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวมากที่สุด  นอกจากนั้นที่หมู่บ้านวังน้ำมอก  ยังมีสถานที่บริการพักค้างคืนสำหรับท่องเที่ยว หรือหมู่บ้านโฮมสเตย์ และบริการเดินเที่ยวป่า  รวมทั้งยังมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ และซุมข้าวแลง (กินข้าวเย็นร่วมกัน)  ซึ่งเป็นวัฒนธรรม ประเพณี  วิถีชาวบ้านวังน้ำมอก ในการต้อนรับกับคนแปลกถิ่นที่มาเยือน ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือนเป็นอย่างดี  อาหารพื้นบ้านที่ท่านจะได้ลิ้มรส อันได้แก่ แกงหน่อไม้  ตำสับปะรด  ปลาทอดสมุนไพรกรอบ  ฯลฯ
สนใจท่องเที่ยวบ้านวังน้ำมอกไปจนถึงการเดินเที่ยวป่า พักโฮมสเตย์  ติดต่อที่ คุณติณณภพ (คุณหน่อย) โทร. ๐๘-๖๒๓๒-๕๓๐๐  หรือที่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอศรีเชียงใหม่ โทรศัพท์ ๐๔๒-๔๕๑๐๓๑


ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย  อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย
ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย  ตั้งอยู่ที่ถนนหนองคาย-บึงกาฬ (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ห่างจากตัวเมืองหนองคาย ประมาณ ๖๐  กิโลเมตร  มี ป้ายบอกทางแยกขวาที่บ้านนายางเข้าไปอีกประมาณ ๒๐๐ เมตร เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำโขงจึงทำให้เป็นเขตที่มีความชุ่มชื้นสูงหลาก หลายไปด้วยพันธุ์ไม้ที่ทดลองปลูก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ทั่วบริเวณ ได้แก่  แปลงไม้ผล  มีทุเรียน มังคุด  ลองกอง  มะม่วงหิมพานต์  รวมทั้งพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่ได้อนุรักษ์ไว้ เช่น ต้นมะเกี๋ยงที่นำไปทำไวน์และน้ำมะเกี๋ยง  แปลงผักพื้นบ้านที่ชาวอีสานนิยมนำไปจิ้มน้ำพริก  แหนม  ลาบ  ก้อย เช่น กระเจียว ผักกาด ส้มโมง  ผักหวานป่า  แปลงรวบรวมพันธุ์ไม้หอมกว่า ๑๐๐ ชนิด และสมุนไพรพื้นบ้านภาคอีสาน ในช่วงฤดูหนาวมีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสีสันสวยงาม  นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง  สนใจเข้าชมสอบถามรายละเอียดทางโทรศัพท์ ๐๔๒-๔๒๑๒๕๗



การเดินทาง   จากจังหวัดหนองคายมุ่งหน้าสู่ถนนทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ผ่านอำเภอโพนพิสัย  อำเภอรัตนวาปี  อำเภอปากคาด  อำเภอบึงกาฬ  อำเภอบุ่งคล้า เข้าสู่อำเภอบึงโขงหลง ระยะทางประมาณ  ๓๐๐ กิโลเมตร  หรือเมื่อมาถึง อำเภอบึงกาฬ เลี้ยวขวาไปอำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา  เข้าสู่บึงโขงหลงที่บ้านหาดคำสมบูรณ์  หรือเมื่อมาถึงอำเภอโพนพิสัยเลี้ยวขวาไปอำเภอเฝ้าไร่  อำเภอโซ่พิสัย  อำเภอพรเจริญ  อำเภอเซกา เข้าสู่บึงโขงหลง ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ  ๓ ชั่วโมง



หมู่บ้านทำยาสูบ  อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
หมู่บ้านทำยาสูบ อยู่บริเวณตลอดเส้นทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอท่าบ่อ (ทางหลวงหมายเลข ๒๑๑และ ถนนพนังชลประทาน  มี ชาวบ้านทำไร่ยาสูบตามแนวเรียบริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นจำนวนในช่วงเดือนมกราคมภา คม มีธรรมชาติที่สวยงาม นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจมาก และแต่ละปีสร้างรายได้ให้กับประชาชนชาวหนองคายเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้านประมงน้ำจืด  อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
หมู่บ้านประมงน้ำจืด อยู่ที่บ้านกองนาง  ตำบลกองนาง  อำเภอท่าบ่อ  ตามเส้นทางสายท่าบ่อ-ศรีเชียงใหม่  เป็นหมู่บ้านซึ่งชาวบ้านมีอาชีพทำการประมงน้ำจืด มีการเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ จำหน่าย  เช่น ปลาตะเพียน  ปลาไน  ปลานวลจันทร์  ปลายี่สกเทศ  ปลาเกล็ดเงิน ปลาหัวโต และปลาดุกเทศ โดยจัดส่งไปจำหน่ายยังจังหวัดต่างๆ ทั้งกรุงเทพฯ  ภาคเหนือ  และภาคอีสาน  นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาชีพเลี้ยงปลาในกระชังที่ใหญ่ที่สุดของหนองคายด้วย
หมู่บ้านทำแผ่นกระยอ  อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
หมู่ บ้านทำแผ่นกระยอ อยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองท่าบ่อ จะมองเห็นตะแกรงไม้ไผ่ตากแผ่นกระยออยู่เป็นระยะๆ ริมถนนและหน้าบ้าน แผ่นกระยอเป็นแผ่นแป้งซึ่งเป็นส่วนประกอบสำหรับทำอาหารเวียดนาม  เช่น ปอเปี๊ยะ และแหนมเนือง  มีการส่งไปจำหน่ายยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของหนองคาย

สวนสาธารณหนองถิ่น  เขตเทศบาลเมืองหนองคาย
ตั้งอยู่ที่บริเวณชุมชนมีชัย  ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ใกล้กับสถานีรถไฟเก่า  เทศบาลเมืองหนองคายจัดสร้างสวน สาธารณแห่งนี้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกายของประชาชนชาวจังหวัดหนองคาย และเป็นสถานที่จัดงานลอยกระทง วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของจังหวัดหนองคายทุกปีที่ผ่านมา

Legend of Nong Khai

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดหนองคาย

   
   ความเป็นมาของเมืองหนองคาย เริ่มต้นเมื่อกว่า 200 ปี เศษพื้นที่บริเวณริมฝั่งโขงนี้ เดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมืองเล็กๆ 4 เมือง คือ เมืองพานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองปากห้วยหลวง และการปกครองในสมัยนั้นเป็น “ระบบอาญาสี่
        ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ตั้งตนเป็นกบฏ จึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เจ้าพระยาราชเทวียกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ โดยมีท้าวสุวอธรรมา (บุญมา) เจ้าเมืองยโสธร และพระยาเชียงสา เป็นกำลังสำคัญในการช่วยทำศึกจนได้รับชัยชนะเมื่อปี พ.ศ. 2370 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุวอ ขึ้นเป็นเจ้าเมือง โดยจัดตั้งเมืองใหญ่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงคอยควบคุมพื้นที่และเลือกสร้างเมือง ที่บ้านไผ่แล้วตั้งชื่อเมืองว่า “หนองคาย” ตามชื่อหนองน้ำใหญ่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเพื่อให้เป็นมงคลนาม และเมืองหนองคายก็ได้มีวิวัฒนาการตามสภาวความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จนกระทั่งได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดหนองคาย ในปัจจุบัน มีอายุรวม 175 ปี
        เมืองหนองคายตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุบัน) เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ เรียกว่า “บ้านหนองไผ่” และบริเวณใกล้เคียงกับบ้านหนองไผ่ไปทางเหนือแม่น้ำโขงนั้น มีชุมชนใหญ่เคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง คือ เมืองพานพร้าว (บริเวณอำเภอศรีเชียงใหม่ อยู่ตรงกันข้ามกับเมืองเวียงจันทน์) เมืองเวียงคุก (เคยเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างปัจจจุบันอยู่ในอำเภอ ท่าบ่อและบางส่วนของอำเภอเมืองหนองคาย) และเมืองปากห้วยหลวง (ปัจจุบันคืออำเภอโพนพิสัย) เมืองทั้ง 4 เมืองดังกล่าวนี้ มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง นั่นคือเจ้าครองเมืองปากห้วยหลวง จำนวนมากได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ครองนครเวียงจันทน์



 ชุมชนเมืองหนองคาย

        บริเวณที่เป็นเมืองหนองคายในปัจจุบัน เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ เรียกว่า “บ้านหนองไผ่” ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับเมืองเวียงจันทน์ (สมัยนั้นเมืองเวียงจันทน์หรือนครเวียงจันทน์ เป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล้านช้าง) ต่อมาเมื่อกองทัพสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นแม่ทัพได้ ชัยชนะเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2322 ประชาชนจำนวนมากของเมืองเวียงจันทน์ต่างก็หนีสงครามแตกฉานซ่านเซ็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่หัวเมืองชั้นในอันได้แก่หัว เมืองภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี เป็นต้น ส่วนที่เหลือก็ตั้งชุมชนอยู่บริเวณเมืองพานพร้าว เมืองเวียงคุก เมืองปะโค และเมืองโพนพิสัย (สมัยนั้นเรียกว่าเมืองโพนแพน ปัจจุบันออกเสียงว่า โพนแพง) เมื่อผู้คนหายตื่นตระหนกกับศึกสงครามแล้ว ชาวเมืองเวียงจันทน์ก็อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ตรงกับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเชื้อพระวงศ์อาณาจักรล้านช้างไปปกครองเมืองเวียงจันทน์
        ส่วนชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขงตะวันตก (เขตจังหวัดหนองคาย) ไม่พบหลักฐานว่าได้ทรงตั้งเมือง หรือให้อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์เมืองเวียงจันทน์ (เมืองเวียงจันทน์มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช) แต่กระนั้นก็ตามเมืองโพนแพง (อำเภอโพนพิสัย) หรือเมืองปากห้วยหลวงนั้นเป็นชุมชนใหญ่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ได้พบหลักฐานว่ามีเจ้าเมืองปกครองอยู่ในตำแหน่ง “พระละครเมืองแพน” เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งเมืองหนองคาย และโปรดเกล้า ฯ ให้ท้าวสุวอ เป็นพระปทุมเทวาภิบาล เป็นเจ้าเมือง และเจ้าเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ดูเหมือนจะมีอำนาจครอบคลุมเมืองโพนแพงด้วย
        เรื่องราวของเมืองหนองคาย หรือเมืองโพนแพน (โพนพิสัย) จึงมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และไม่ทราบว่าเมืองหนองคายหรือเมืองโพนพิสัยนั้นข้าราชการขึ้นอยู่กับเมือง เวียงจันทน์หรือขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ (ไม่พบหลักฐานที่เป็นรายละเอียดกว่านี้ อีกประการหนึ่งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ได้ให้ศักราชไว้ว่าเป็นเหตุการณ์ในปี พ.ศ.ใด) ครั้นเมื่อสมัยปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เรียบร้อยแล้วราชธานีไทยคือกรุงรัตนโกสินทร์ มีเหตุการณ์เกี่ยวพันกับหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคอิสานมากขึ้น จึงพบเอกสารหลักฐานที่กล่าวโยงถึงเมืองหนองคาย เพิ่มบ้างดังนี้
        เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ โอรสเจ้าสิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์เติบโตและเล่าเรียนสรรพวิทยาการที่ กรุงเทพฯ ครั้นเจริญวัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ครองเมืองเวียงจันทน์แทนเจ้านันทเสน(พี่ชาย) ตอนปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าอนุวงศ์มีความใกล้ชิดและคุ้นเคยกับเชื้อพระวงศ์ในกรุงเทพ และขุนนาง เสนาบดีผู้ใหญ่จำนวนมากเจ้าอนุวงศ์มีความคิดที่จะกอบกู้หัวเมืองอิสานที่ตก อยู่ในฐานะเมืองขึ้นของกรุงเทพฯ (สมัยรัชกาลที่ 1 – รัชการที่ 5 ไทยปกครองหัวเมืองทางภาคอิสานในฐานะประเทศราชเกือบทุกเมืองคือส่งส่วยอากร และเกณฑ์แรงงานมาช่วยราชธานีรวมทั้งเกณฑ์กองทัพช่วยรบศึกพม่า) เจ้าอนุวงศ์ได้ติดต่อกับเจ้าเมืองทางภาคอิสาน ประกอบด้วยเจ้าราชบุตร (โย้) บุตรเจ้าอนุวงศ์ได้เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์อีกด้วย ฉะนั้นเจ้าอนุวงศ์จึงคิดการใหญ่ ยกทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา
        พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาบดินทร์เดชา สมุหนายก ได้เป็นแม่ทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ในครั้งนั้นและเป็นกองทัพสำคัญที่มีบทบาทใน การปราบกบฏโดยจับตัวเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ เมื่อ พ.ศ.2370 จึงจัดราชการบ้านเมือง ยุบเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองร้าง ให้ผู้คนอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองหนองคาย จึงกราบบังคมทูลขอพระกรุณาแต่งตั้งท้าวสุวอหรือท้าวสุวอธรรมา ซึ่งเป็นเชื้อสายพระวอพระตา เจ้าเมืองอุบลราชธานี คือบุตรของอัคราชเมืองยโสธร ท้าวสุวอเป็นกำลังรบที่สำคัญของกองทัพพระยาราชสุภาวดี(ภายหลังได้ตำแหน่ง เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) ได้ความดีความชอบในการปราบศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์มา จึงมีใบบอกกราบบังคมทูลขอตั้งบ้านไผ่หรือบ้านหนองไผ่ เป็นเมืองหนองคาย และขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวสุวอ เป็นพระปทุมเทวภิบาลเจ้าเมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370 เป็นต้นมา
        เมืองหนองคาย ภายหลังจากที่เหตุการณ์สงบมากแล้วราษฎรพากันอพยพมาตั้งบ้านเรือนมากขึ้นเป็น ลำดับมีเจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งมาครองเมืองหลายคน จนถึงปี พ.ศ.2420 ก็ได้เกิดศึกฮ่อที่ชายแดนติดต่อกับประเทศญวน ขณะนั้นพระปทุมเทวาภิบาล เป็นเจ้าเมืองหนองคาย สืบต่อจากท้าวสุวอ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงทราบข่าวการศึกฮ่อ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) ซึ่งไปตรวจราชการอยู่ที่หัวเมืองอิสาน เกณฑ์กองทัพของพระยามหาอำมาตย์ ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคาย เมืองโพนแพง (โพนพิสัย) ก็ทราบว่าผู้คนแตกตื่นหนีศึกฮ่อที่ยกกำลังมาตีเมืองเวียงจันทน์และตั้งมั่น อยู่ที่เมืองเวียงจันทน์แม้แต่กรมการเมืองก็อพยพครอบครัวหนีเข้าป่าเข้าดง ด้วย พระยามหาอำมาตย์ จึงให้หากรมการเมือง ในครั้งนั้นได้สั่งประหารชีวิตท้าวศรีสุราช ตำแหน่งราชบุตรเมืองหนองคาย ที่รักษาการบ้านเมือง ขณะที่เจ้าเมืองไปราชการ และพระยาพิสัยสรเดช (ท้าวหนู) เจ้าเมืองโพนพิสัยที่ไม่อยู่รักษาบ้านเมืองแตกตื่นข่าวศึก ในครั้งนั้นพระมหาอำมาตย์ได้ยกทัพตีศึกฮ่อจนถอยไปทางทุ่งเชียงคำ(ทุ่งไหหิน) บ้านเมืองก็กลับสงบสุข แต่กระนั้นก็ตามยังเกิดศึกฮ่อเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2428 คราวนี้พวกฮ่อกำเริบเสิบสานได้เข้ายึดทุ่งเชียงคำ (ทุ่งไหหิน) และเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์อีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศขณะนั้น) เป็นแม่ทัพเสด็จฯ ไปปราบฮ่อจนราบคาบ หลังจากเสร็จศึกปราบฮ่อแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์ปราบฮ่อเพื่อบรรจุอัฐิผู้เสียชีวิตในการทำศึกปราบฮ่อไว้ ณ บริเวณเมืองหนองคาย (ด้านข้างสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองหนองคาย ในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ.2429
        ปี พ.ศ.2434 ฝรั่งเศสเริ่มขยายอาณาเขตไปถึงประเทศลาวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมมาดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ สำเร็จราชการหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ (ภายหลังเปลี่ยนเป็นมณฑลลาวพวน และมณฑลอุดรธานี ตามลำดับ) ตั้งกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่อยู่ที่เมืองหนองคาย และย้ายไปตั้งที่บ้านเดื่อหมากแข้ง ในปี พ.ศ.2436 และยกบ้านเดื่อหมากแข้งเป็นเมืองอุดรธานี ในปี พ.ศ.2450
        เมื่อย้ายกองบัญชาการข้าหลวงใหญ่มาอยู่ที่อุดรธานีแล้วนั้น เมืองหนองคาย ก็มีฐานะเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลลาวพวน (อุดรธานี) ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเจ้าเมืองอุปฮาดราชวงศ์ ราชบุตรในหัวเมืองอิสานเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ปรากฏชื่อพระยาปทุมเทวาภิบาล (ท้าวเสือ ณ หนองคาย) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย